บทที่3 การใช้ยา

การใช้ยา
ความหมายของการใช้ยาและประโยชน์ของการใช้ยา
องค์อนามัยโลก (who) ได้ให้ความหมายของยาว่า ยา คือสารที่สารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรืทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทางการพยาธิวิทยา ซึ่งทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก้ผู้รับยา
1.ในการรักษาโรคให้หายขาด ยาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย
2.การใช้ยาในการควบคุมหรือบรรเทาอาการ
3.การองกันใช้ในการป้องกันโรค
ประเภทของยา
ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติ ฉบับที่ พ.. 2522 จำแผนกได้ดังนี้
1.ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่มุ่งสำหรับการประกอบอาชีพเวชกรรมการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน
2.ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งสำหรับการประกอบอาชีพเวชกรรมการประกอบโรคศิลปะโบราณ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศใช้และและได้รับให้เป็นยาแผนโบราณ
3.ยาอันตราย หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาอันตราย
4.ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาควบคุมพิเศษ
5.ยาใช้ภายนอก หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาเฉพาะที่
6. ยาเฉพาะที่ หมายถึง แผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุงหมายเฉพาะที่ หู ตา จมูก ลิ้น ทวารหนัก
7.ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาประจำบ้าน ที่มีชื่อว่ายาตำราหลวง
8.ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ แร่ ที่ยังไม่ผสมปรุง หรือแปรสภาพเพื่อความสะดวกในการเก็บและมักหั่นให้มีขนาดเล็ก
9.ยาบรรจุเสร็จ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ผลิตเสร็จแล้วในรูปแบบต่างๆทางเภสัชกรรม  และบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดผนึกไว้  และมีฉลากครบถ้วนตามพระราชบัญญัติยา
รูปแบบของยา
ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาจากการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ  มีการศึกษาวิจัยกับสัตว์และกับคน  จนเชื่อถือได้ว่าใช้กับคนได้ผล  จึงนำมาใช้ได้  ซึ้งจะอยู่หลายรู้แบบ  ดังนี้
1.ยาเม็ด  (Talet
2.ยาแคปซูล(Capsule)
3)ยาผง(Powder)
4)ยาน้ำใส(solution)
5)ยาน้ำเชื่อม(syrup)
6)ยาอิลิกเซอร์(Elixir)
7)ยาน้ำแขวนตะกอน(Suspension)
8)โลชั่น(Lotion)
9)ครีม(cream)
10)ยาขี้ผึ้ง(ointment)
11)เจล(Gel)
12)ยาเหน็บ(suppository)
ยาสามัญประจำบ้าน
มี 2  ประเภท
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
1           ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน  แบ่งเป็น  2  ประเภท  ยาภายในและยาภายนอก  แบ่งเป็น  15 กลุ่มอาการ  ดังนี้
1ยาแก้ปวดท้อง
2ยาแก้ท้องเสีย
3ยาระบาย  ยาถ่าย
4ยาถ่ายพยาธิลำไส้
5ยาแก้ปวดลดไข้
6ยาแก้ไอขับเสมหะ
7ยาแก้คัดจมูก
8ยาแก้แพ้
9ยาดมแก้วิงเวียน  หน้ามืด
10ยากินบำรุงร่างกาย
11ยาสำหรับโรคตา  และโรคในช่องปาก
12ยาสำหรับแก้โรคผิวหนัง
13ยาใส่แผลล้างแผล
14ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
15ยาแก้ปวดฟัน
การใช้สมุนไพรไทย
สมุนไพร  หมายถึง  ยาที่ได้จากพืช  สัตว์  และแร่ธาตุ   ซึ้งยังไม่ได้ผสมปรุงหรือแปลสภาพไปและนำมารักษาโรคได้   แบ่งได้เป็น  3 ประเภท  คือ
1สมุนไพรประเภทพืช
2สมุนไพรประเภทสัตว์
3สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ
มี18อาการ
1สมุนไพรแก้อาการท้องผูก
2สมุนไพรแก้อาการท้องเฟ้อและแน่นจุกเสียด
3สมุนไพรแก้อาการท้องเดิน
4สมุนไพรถ่ายพยาธิลำใส่
5สมุนไพรแก้บิด
6สมุนไพรแก้คลื่นใส่อาเจียน
7สมุนไพรแก้อาการไอและขับเสมหะ
8สมุนไพรแก้ไข้
9สมุนไพรแก้อาการขัดเบา
10สมุนไพรรักษากลาก
11สมุนไพรแก้อาการเกลื้อน
12สมุนไพรแก้อาการนอนไม่หลับ
13สมุนไพรรักษาฝีและแผลผุผอง
14สมุนไพรรักษาอาการเคล็ดขัดยอก
15สมุนไพรแก้อาการแพ้หรืออักเสบเนื่องจากแมลง สัตว์กัดต่อย
16สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
17สมุนไพรใช้ฆ่าเหา
18สมุนไพรรักษาชันนะตุ
วิธีการใช้ยา
วิธีการใช้ยาให้ได้ผลดีที่สุดควรยึดหลักปฏิบัติดังนี้
1.ใช้ยาให้ถูกโรค
2.ใช้ยาให้ถูกขนาด
3.ใช้ยาให้ถูกเวลา
4.ใช้ยาให้ถูกบุคคล
5.ใช้ยาให้ถูกทางและวิธี
อันตรายจากการใช้ยา
1.ผลข้างเขียงจากการใช้ยา(Side  Effects) ยาคลอร์เฟนิรามีน  ทำให้ง่วงซึม ยาแก้ปวด  ทำให้เลือดแข็งตัวช้า  หูอื้อ  เป็นต้น
2.อันตรายจากพิษของยา(Drug Toxicity)  มันเกิดจากการใช้ยาเกิดขนาดอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือรับประทานเกินขนาดเพื่อหวังฆ่าตัวตาย  ถ้าพบเห็นควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
3.การแพ้ยา(Drug  Allergy)อาการแพ้ยาเกิด  จะไม่มีลักษณะคล้ายคลึงกับฤทธิ์ของยาเลย  แต่จะมีอาการแต่ต่างออกไปเหมือนกับอาการทั่วไป  ลักษณะอาการแพ้ยาจะแตกต่างไปตามชนิดของยา  และตัวบุคคล  แต่อาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง
4.การรับยาติดต่อกันเป็นเวลานาน(Chronic Toxicity)เป็นอาการที่ไม่พึ่งประสงค์ซึ่งเป็นผลสืบเนืองมาจากการที่ผู้ป่วยได้รับยาติดต่อมาเป็นเวลานาน ลักษณะอาการอาจแตกต่างจากผลเสียข้างเคียงจากการใช้ยาและพิษยา เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroids)อาจมทำให้เกิดความผิดปกติทางใจ
5.การดื้อยา(Drug Resistance)เป็นการที่ใช้ยาแล้วไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้
เนื่องจากโรคดื้อยา ที่พบมากที่สุดมันเนื่องมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรคใช้ไม่ถูกขนาด หรือใช้ในระยะเวลาที่น้อยไป หรือไม่เพียงพอต่อการทำลายเชื้อโรค
6.การติดยา(Drug Dependence)ยาบางชนิดถ้าใช้ไม่ถูกต้อง หรือใช้ต่อเนื่องกันไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้ติดยาชนิดนั้นได้ เช่น มอร์ฟีน ยากล่อมประสาท ยาแก้ไอบางชนิด เป็นต้น
การเสื่อมและการหมดอายุของยา
  ยาทุกชนิดจะมีการเสื่อมและหมดอายุได้การเสื่อมสภาพของยาอาจเกิดก่อนการหมดอายุของยา ซึ่งโดยมากมักเกิดจากการเก็บยาไม่ถูกวิธี เช่น ถูกความร้อน ความชื้น หรือแสงแดดทำให้ยามีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ยาเม็ดจะแตกร่วน หรือสีเปลี่ยนไป ยาน้ำจะตกตะกอนแน่นเขย่าไม่กระจาย หรือแยกชั้น สี กลิ่น และรสเปลี่ยน ยาแคปซูลจะมีลักษณะเยิ้มหรือขึ้นรา ยาที่มีลักษณะเช่นนี้ไม่ควรนำมาใช้ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงตายได้
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยา
  ในการใช้ยานั้นเพื่อให้ได้รับผลอย่างสูงสุดจากการใช้ยา และไม่เกิดอันตรายจากการใช้ยาหรือถ้าเกิดอันตรายก็สามารถแก้ไขได้ทันที ควรปฏิบัติดังนี้
๑.    ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาและจัดยาให้มาจะดีกว่าหารไปซื้อยารับประทานเอง แต่ถ้าจะไปซื้อยารับประทานเองควรไปซื้อยาจากร้านเภสัชการประจำอยู่
๒.   ควรอ่านฉลากยาให้ระเอียดก่อนใช้ยานั้น ถ้าเป็นยาที่ยังไม่เคยใช้หรือไม่ได้ใช้เป็นประจำในฉลากยาจะมีชื่อยา สรรพคุณของยาวิธีใช้ขนาดที่ใช้คำเตือนส่วนประกอบที่สำคัญของยาวันเดือนปีที่ผลิตยา วันหมดอายุ และรายละเอียดอื่นๆ อีกซึ่งฉลากนี้จะปรากฏอยู่ด้านข้างของภาชนะที่บรรจุ และแผ่นฉลากในภาชนะที่จุ
๓.   ถ้าต้องการอ่านฉลาก แต่ว่าฉลากยาเลอะเลือนจนอ่านไม่ชัดหรือไม่มีฉลากก็ไม่ควรใช้ยานั้น
๔.   ในการใช้ยาต้องปฏิบัติตามฉลากหรือตามที่แพทย์สั่งอย่าเคร่งครัด
๕.   ถ้าเกิดอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าวมาแล้วให้เปลี่ยนยาหรือหยุดใช้ยาหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรืออาจต้องไปพบแพทย์แล้วแต่กรณีและความรุนแรง
๖.    ต้องใช้ยาให้ถูกเวลาตามที่ระบุไว้ในฉลากหรือตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งมักเขียนไว้ที่ข้างซองยา
๗.   ควรงดเว้นการใช้ยาชุดซึ่งยาชุดนี้จะไม่มีฉลากผู้ขายจะจัดรวมเป็นชุด ชุดละ 3-5 โดยมีรูปลักษณะและสีของยาต่างๆกันยาชุดนี้มีอันตรายผู้ใช้มาก
๘.   ควรจำไว้ว่าตนเองเคยแพ้ยาอะไรก่อนที่แพทย์หรือเภสัชกรจ่ายยาควรบอกด้วยว่าตนเองแพ้ยาอะไร
๙.   ไม่ควรหลงในคำโฆษณาเกินความเป็นจริงควรใช้วิจารณญาณในการซื้อและใช้ยา
๑๐.                      ถ้าลืมรับประทานยามื้อใดมื้อหนึ่ง ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ห้ามรับประทานยาเป็นสองเท่าในมื้อต่อไป
๑๑.                      ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะยาเป็นสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย ถ้ามีมากอาจมีผลต่อร่างกายหรืออวัยวะภายในได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น